วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประโยชน์ในการเตรียมดิน

ประโยชน์ในการเตรียมดิน

1.สามารถเก็บความชื้นในดินได้สูง ดินที่เก็บความชื้นได้สูงนั้นนับว่ามีความสำคัญต่อพืชที่ปลูกในแถบค่อนข้างแห้งแล้งมาก ทั้งนี้เพราะเหตุว่าพื้นที่ดังกล่าวมักไม่ได้รับน้ำฝนอย่างพอเพียงในฤดูกาลปลูก พื้นที่ลักษณะนี้หากจะไถทิ้งไว้สักปีหนึ่งก็สามารถจะปลูกได้อย่างดี ทั้งนี้เพราะจากการที่เราไถทิ้งไว้นั้น จำนวนน้ำฝนจะถูกเก็บกักไว้ในดิน และความชื้นอันนี้เอง เมื่อรวมกับความชื้นในระหว่างฤดูกาลเพาะปลูกพืชจะทำให้พอเพียงต่อการเจริญเติบโตของพืช การสงวนความชื้นในลักษณะนี้อาจนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้ แม้ในเขตที่มีความชื้นแล้วก็ตาม
2.การทำลายวัชพืช วัชพืชใช้น้ำ และอาหารพืชในดินเป็นปริมาณมากการทำลายวัชพืชจึงเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการสงวนความชืน

3.การถ่ายเทอากาศของดิน แปลงเพาะปลูกพืชที่ได้เตรียมไว้อย่างดีนั้นจะทำให้อาหารพืชต่างๆ พร้อมที่จะถูกพืชนำไปใช้ได้ทันที ความจริงอันนี้สืบเนื่องมาจากการถ่ายเทของอากาศได้อย่างทั่วถึงเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้เพราะเหตุว่าอากาศมีความจำเป็นต่อกิจกรรมทางเคมี และชีวะในดินอย่างมาก การเตรียมดินเท่ากับทำให้ดินได้ถูกอากาศ อันจะทำให้พวกแร่ธาตุอาหารพืชถูกนำเอาไปใช้ได้ดีขึ้นทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการทำปฏิกริยากับออกซิเจน

4.ทำให้อินทรีย์วัตถุเกิดประโยชน์แก่ดิน ในดินที่เตรียมไว้อย่างดีนั้น พวกอินทรีย์วัตถุซึ่งไถกลบหรือเพิ่มให้แก่ดินหรือให้ทั้ง 2 อย่างนั้นจะถูกกลบอยู่ภายใต้ผิวดิน วัตถุต่างๆ เหล่านั้นรวมกับแร่ธาตุอาหารพืชที่ให้ ทำให้เกิดการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำไว้ดีขึ้นและยังปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีอีกด้วย

5.ช่วยให้ดินย่อยและร่วนซุย พวกดินเหนียวจะทำให้เกิดแน่นตัวไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดี ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ในดิน และรากพืชไม่สามารถจะทนทานต่อสภาพดินเช่นนี้ได้ ดินควรได้รับการไถ พรวนเพื่อให้เกิดการร่วนซุยได้ดีก่อนการหว่านเมล็ดพืชหรือก่อนการปลูกพืช


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประโยชน์ การเตรียมดิน 


HOMEWORK

คำถาม
-การปลูกใบกระเพรามีวิธีการอย่างไร
-การปลูกพืชผักสวนครัวมีประโยชน์อย่างไร
-มะนาวมีโรคประจำตัวคือโรคอะไรแล้วมีวิธีการแก้ไขอย่างไรโดยไม่ใช้สารเคมี


1.วิธีการปลูก
   โหระพาเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ 1 - 2 ปี เริ่มจากการเตรียมดินควรมีความร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ต่อมาเริ่มขั้นตอนการปลูกควรทำในเวลาเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ การปักชำและการเพาะเมล็ด โหระพาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการรดน้ำให้ทุกวัน แต่ระวังอย่าปล่อยให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง ในระยะแรกควรทำการพรวนดินและกำจัดพืชทุก ๆ 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำรดหลังปลูกประมาณ 15 - 20 วัน จะทำให้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้น หลังจากปลูกประมาณ 30 - 35 วัน สามารถทำการเก็บเกี่ยว

ที่มา :: -http://home.kapook.com/view44743.html

-http://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2/

-http://www.kasetroad.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2/



2.ประโยชน์

สามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้
การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ บ้าน
          
ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์          
ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน          
ครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี          
สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยรักที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ที่มา :: -http://www.kasetkawna.com/article/42/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7

-http://www.trueplookpanya.com/new/asktrueplookpanya/questiondetail/3140


-https://sites.google.com/site/goyjaareerat/hnwy-thi-2/2-2



3.มะนาวมีโรคประจำตัวคือ


 โรคแคงเกอร์


ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด


วิธีการป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน


ที่มา :: -http://www.oae.go.th/fruits/index.php/maintenance/102-production/plant/96-lemon?showall=&start=1

-http://www.chanapanmanaw.com/index.php/component/easytagcloud/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7


-http://www.thaikasetsart.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

ความเหมาะสม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกพืชผักสวนครัว

1. ที่ตั้งแหล่งชุมชน ผักหลายชนิดโดยเฉพาะผักกินใบ และผักต่างๆแปลงควรตั้งอยู่ในเขตชานเมือง เพื่อลดการสูญเสียและรักษาความสดระหว่างการขนส่งอีกทั้งลดต้นทุนในการขนส่ง อีกด้วย
2. ดิน ถึงแม้เทคโนโลยีได้อำนวยการผลิตพืชผักสวนครัว ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยดินก็ตามแต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญและคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ ในการใช้ผลิตพืชผักสวนครัวอยู่ในปัจจุบัน ดินที่เหมาะต่อการปลูกพืชผักสวนครัว ควรมีชั้นหน้าดินลึกอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดี เนื้อดินร่วนซุย
3. แหล่งน้ำ ต้องมีอย่างเพียงพอแก่ความต้องการโดยเฉพาะในระยะที่แห้งแล้งที่สุดของปี พืชผักสวนครัวเป็นที่ต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ การใช้ฝนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอควรมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างคร่าวๆตลอด ฤดูกาล
4.ความลาดเทของพื้นที่ ทางเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ความลาดเทของพื้นที่มีผลต่อการผลิตผักให้สำเร็จอย่างยิ่งโดยทั่วไปความลาดเท ของภูเขาทางด้านใต้ จะได้รับแสงแดดมากกว่า จึงอบอุ่นมากกว่าด้านเหนือ การที่พื้นที่มีความลาดเทสูงเป็นอุปสรรคต่อการเตรียมดินและการปลูกพืชผักสวน ครัว เกิดการชะล้างผิวหน้าดินไปได้ง่าย จึงจำเป็นต้องหามาตราการที่เหมาะสมเพื่ออนุรักษ์ดินไว้ โดยทั่วไปพื้นที่ราบมีความเหมาะสมในการปลูกพืชผักสวนครัวมากกว่า แต่ถ้าพื้นที่มีความลาดเทเล็กน้อยจะเหมาะสมที่สุดเพราะจะช่วยให้ดินระบายน้ำ ได้ดี และสะดวกต่อการให้น้ำตามร่อง
5. ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเล มีผลกระทบทางอ้อมต่อผลผลิตของพืชผักสวนครัว เนื่องจากความสูงของพื้นที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัจจัยที่สำคัญต่อการ เจริญเติบโตของพืช คืออุณหภูมิ ความชื้น
6. ภูมิอากาศของท้องถิ่น
6.1 อุณหภูมิ ในบ้านเราอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่เป็นผลต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้ามีน้ำ เพียงพอ แต่ถ้าผักหลายชนิดที่นำมาจากประเทศจะเกิดปัญหา ความเย็นไม่พอต่อการกระตุ้นในการสร้างดอก
6.2 ปริมาณน้ำฝน ในเขตเอเชีย ฝนเป็นผลมาจากมรสุม ปริมาณน้ำฝนมักจะมีมากในช่วงฤดูฝน มักขาดแคลนในฤดูแล้ง แต่ละภูมิภาคมีการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝน ในแต่ละเดือนแต่ละปีแตกต่างกันออกไป การทราบสถิติข้อมูลน้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระหว่างฤดูปลูกพืชผักสวนครัวที่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ อาจไม่จำเป็นให้น้ำเพิ่มเติม
6.3ช่วงวันบ้านเราตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความแตกต่างของช่วงวันน้อยมากคือไม่น้อยกว่า 30 นาที/วัน พันธ์ุพืชผักสวนครัวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเราเสมอมา ถือว่าเป็นพืชผักสวนครัวประเภทวันสั้นหรือช่วงวันกลาง สามารถปรับตัวเจริญได้ดีเมื่อมีความยาวของวันประมาณ 12 ชั่วโมงต่อวัน พันธุ์ผักต่างประเทศหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่บางพันธุ์ ซึ่งเป็นพืชช่วงวันยาว ต้องการแสงอย่างน้อย 14-16 ชั่วโมง/วัน ไม่สามารถปลูกให้สร้างหัวได้


6.4 ลมในที่เปิดโล่ง ลมแรงสามารถทำอันตรายต่อพืชผักสวนครัวได้โดยตรง ลมแรงเกิดจากพายุโซนร้อนสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมาก ถ้าไม่มีการสร้างฉากกำบัง โดยเฉพาะพืชตระกลูถั่วเป็นต้น อ่อนแอต่อสภาพลมแรงโดยเฉพาะระยะออกดอกและผล

บทสังเกตุการณ์

บทสังเกตุการณ์

1.ได้ผักสดและดีต่อสุขภาพมากกว่า
   เพราะตามปกติ ผักจะสูญเสียวิตามินและเกลือแร่ทันทีที่ถูกเด็ดออกจากต้น และเสียเพิ่มเติมในขั้นตอนการปรุงอาหาร ดังนั้นหากเราซื้อผักจากร้านข้างนอก ที่ใช้เวลาขนส่งและถูกแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานานกว่าจะถึงมือเรา ผักเหล่านี้แทบไม่เหลือคุณค่าอาหารใด ๆ เลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการปลูกผักกินเองจึงดีกว่า เพราะนอกจากจะกรอบอร่อยเพราะความสดใหม่กว่าแล้ว ยังลดโอกาสในการสูญเสียคุณค่าทางอาหารให้น้อยลงอีกด้วย

2.มีส่วนช่วยในการดูแลโลก
   ผักต่าง ๆ ที่เราซื้อมาจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกตนั้น ไม่ได้ปลูกในเมืองหรือในประเทศของเราเสมอไป ผักบางชนิดก็ถูกขนส่งมาจากพื้นที่ห่างไกล ทั้งยังต้องถูกแช่แข็งมาเพื่อรักษาความสด และยังต้องทำบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ขายได้ราคาแพง ทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมหาศาล ดังนั้นการปลูกผักที่บ้านไว้รับประทานเอง จึงเป็นหนทางที่ดีในการรักษ์โลกได้อีกทาง

3.ได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว
   เพราะการใช้ชีวิตแบบยุคสำเร็จรูปในปัจจุบัน แทบไม่เปิดโอกาสเด็ก ๆ เรียนรู้ว่าผักต่าง ๆ มาจากไหนหรือให้ประโยชน์อะไร ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมปลูกผักที่บ้าน ถ้าเด็ก ๆ ปลูกถั่วงอก เขาก็จะอยากลองกินถั่วงอก เพราะรู้สึกผูกพันกับพืชผักที่เขาปลูก ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องอาหารและการกินเพื่อสุขภาพได้ง่ายนั่นเอง

4.ไม่ต้องกังวลกับยาฆ่าแมลง
   ทุกคนรู้ดีว่าผักที่ซื้อจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกต ไม่ได้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงเสมอไป และวิธีที่ดีกว่าการเสี่ยงต่อสารเคมีสะสม คือการปลูกผักไว้กินเอง เพราะเราสามารถดูแลควบคุมคุณภาพได้อย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน และไม่ต้องกังวลใจเรื่องสารเคมีใด ๆ อีกด้วย

5.ประหยัดเงินในกระเป๋า

   แม้ว่าในเบื้องต้นเราจะต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปลูกผักในบ้าน แต่รับรองว่าผลหลังจากนั้นจะคุ้มค่าแน่นอน เพราะนอกจากเราจะมีผักที่สดสะอาด เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าอาหารไว้รับประทานเอง (รวมถึงแบ่งปันเพื่อนบ้านแล้ว) เรายังจะได้เมล็ดพันธุ์ของพืชมาปลูกได้อีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้เยอะ อย่างที่คุณเองก็คาดไม่ถึงเชียวล่ะ


  การปลูกพืชผักสวนครัว เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการใช้ที่ว่างภายในรั้วบ้านให้เกิดประโยชน์ การปลูกพืชผักสวนครัวดูแลง่ายเพียงแค่รดน้ำตอนเช้าก่อนออกไปทำงานหรือไปเรียน กลับมาตอนเย็นก็ลดอีกที ผักที่สามารถปลูกได้ง่ายคือ กวางตุ้ง มะนาว พริก ชะอม เดือนพฤษภาคมมะนาวจะออกเต็มต้นด้วยฤดูกาลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กองปุ๋ยทำได้ง่ายๆคือขี้วัวกับเศษหญ้าจะไม่เผาทิ้งจะนำมาใช้หมกใต้ต้นมะนาวเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้ง่ายในการซื้อปุ๋ยและเพื่อเป็นการบำรุงรากและบำรุงใบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนสารเคมี โรคของมะนาวคือทิงเจอร์แต่จะใช้วิธีการเด็ดใบที่มีทิงเจอร์ออก เพียงเท่านี้ก็ได้ต้นมะนาว ได้ผลผลิตที่ไม่มีสารเคมีแล้ว




มะนาว

การปลูกมะนาวให้ได้ลูกดก



        วิธีปลูกมะนาว อยากรู้ว่าปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ผลดี มาดูวิธีปลูกมะนาวเหล่านี้ ไว้ปลูกมะนาวกินเองที่บ้านหรือจะปลูกมะนาวไว้สร้างรายได้ให้กับครอบครัวก็ไม่ว่ากัน 

1.ปลูกมะนาวลงดิน
        การปลูกมะนาวลงดินจำเป็นที่จะต้องใช้กิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์และไม่มีโรคมาทำการปักชำ จากนั้นให้นำมาปักชำลงในถุงดำที่มีดินผสมแกลบและขุยมะพร้าว เมื่อรากเริ่มงอกและแข็งแรงแล้ว ก็จัดการย้ายต้นมะนาวจากถุงลงไปปลูกในหลุมที่ดินร่วนซุยที่มีขนาด 50x50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หาไม้หลักมาปักไว้และผูกเข้ากับต้นมะนาวเพื่อให้ต้นแข็งแรง ที่สำคัญตำแหน่งหลุมปลูกจะต้องอยู่สูงกว่าทางเดินเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง

2. ปลูกมะนาวให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี

        หากจะปลูกมะนาวให้สามารถเก็บขายและมีรายได้ตลอดทั้งปีนั้น จะต้องหันมาใช้วิธีปลูกมะนาวต้นคู่ ก่อนอื่นจะต้องคัดสรรกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงและไม่มีโรคมาปลูก ซึ่งอาจจะเป็นสายพันธุ์แป้นพิจิตร แป้นวโรชา หรือแป้นดกศรีนวล ที่มีลักษณะเปลือกบางน้ำเยอะมาปลูกก็ได้ค่ะ จากนั้นก็เตรียมขุดหลุมดินให้มีความกว้าง 50x50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ต่อไปให้นำกิ่งพันธุ์จำนวน 2 กิ่ง ลงไปปลูกในหลุมเดียวกัน วางทั้ง 2 กิ่งให้ไขว้กัน จากนั้นกลบดินให้แน่ และปักไม้หลักให้ต้นมะนาวยึด วิธีนี้จะทำให้มะนาวทั้ง 2 ต้นแย่งกันโตและออกให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี

3. ปลูกมะนาวในน้ำ

        ข้อดีของการปลูกมะนาวในน้ำนั่นก็คือ ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะแถมยังได้ผลผลิตตลอดทั้งปี ก่อนอื่นจะต้องนำกระถางพลาสติกมาเจาะรูปขนาดเล็กไว้โดยรอบ นำต้นมะนาวลงไปปลูกในกระถางเจาะรูที่มีขุยมะพร้าวรองก้นสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอก และกลบชั้นบนด้วยขุยมะพร้าวให้แน่น จากนั้นก็เตรียมเจาะรูฝาถังน้ำขนาด 100 ลิตร ให้มีขนาดเท่ากับกระถางที่เจาะรูเพื่อให้ใส่กระถางลงไปได้พอดี หันไปผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร กับน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร แล้วรดลงไปที่ต้น และย้ายต้นไปไว้ในที่ร่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำในถังและปุ๋ยในกระถางทุก 3 เดือน หลัง 3 เดือนแรก ให้นำผ้ายางดำมาคลุมต้นทิ้งไว้ 20 วัน แล้วค่อยเอาออก ก็จะทำให้ได้ผลผลิตมากตลอดทั้งปี

4. ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

        อยากให้มะนาวออกลูนอกฤดูกาลก็สามารถทำได้ ไม่ต้องพึ่งวิธีการวิทยาการให้ยุ่งยาก เริ่มจากการเตรียมกิ่งพันธุ์สมบูรณ์มาชำลงในถุงดำที่มีดินผสมแกลบและรอให้รากแข็งแรง ในระหว่างนั้นก็มาเตรียมส่วนของพื้นที่ปลูก โดยการเลือกใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 80x40 เซนติเมตรมาวาง ซึ่งต้องรองก้นบ่อด้วยฝาบ่อซีเมนต์ขนาด 100 เซนติเมตร จากนั้นนำหน้าดินที่มีแร่ธาตุและสารอาหารมาผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เติมแกลบเพื่อให้ดินร่วนซุย เมื่อรากต้นมะนาวในถุงดำแข็งแรงแล้ว ก็ย้ายลงมาปลูกในบ่อซีเมนต์ กลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น และปักไม้หลักเพื่อยึดต้นให้ทนทานไม่หักเอน

5. ปลูกมะนาวในเข่ง

        การปลูกมะนาวลงในเข่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยประหยัดพื้นที่และดูแลรักษาง่าย เริ่มจากการชำกิ่งพันธุ์ที่ต้องการลงในถุงดำหรือกระถางเพื่อรอให้รากแข็งแรง จากนั้นก็ออกตามหาเข่งพลาสติกขนาด 14 นิ้ว มาเจาะรูระบายน้ำไว้ที่ก้นเข่งซะก่อน แล้วย้ายต้นมะนาวที่มีรากแข็งแรงลงในเข่งที่รองดิน แกลบ และปุ๋ยคอก กลบดินที่โคนต้นให้แน่น ปักไม้ให้ต้นยึด 

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม

อภิชาติ ศรีสอาด. (2558). รวยด้วยผักสวนครัว. กรุงเทพ: บริษัท นาคา อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

สุขาทิพย์ ทิพย์บำรุง. (2557). ผักสวนครัวเงินล้าน. กรุงเทพ: บริษัท พรอสเพอร์ เซอร์วิส ซัพพลาย จำกัด.

เซี่ย ตงฉี. (2557). สวนผักในบ้านกินฟรีทั้งปี. กรุงเทพ: พงษ์วรินการพิมพ์.


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

PROFILE









PROFILE

Kanyanee Datchkhrut (Film)

Domicile : Bangsaen,Chonburi

Birthday : 31.oct.1994

Age : 21

Height : 170 cm.

Weight : 45 kg.

Proportion(w) : 32-25-34

Education : Rangsit University

Talent : Dance


Language : Thai